ชื่อเรื่อง - วีรชนกองทัพเรือ

Release Date : 03-03-2015 12:16:00
ชื่อเรื่อง - วีรชนกองทัพเรือ

ยุทธการสามชัย


กองร้อยปืนเล็กที่ 3 สามารถยึดที่หมาย บนยอดเขาภูลมโลเหนือ ได้สำเร็จ
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2515
ยุทธการสามชัย เป็นการ ปฏิบัติการจริง ที่แฝงมา ในคำว่า ฝึก มีชื่อ เป็นทางการ ว่า " การฝึกร่วม ๑๖" เป็นการ ปราบ ผกค. ในพื้ นที่ ภาคเหนือ บริเวณ รอยต่อ ๓ จังหวัด คือ เพชรบูรณ์,พิษณุโลก และ เลย ปฏิบัติการในห้วง เวลา ปลายปี ๑๕ ถึง ต้นปี ๑๖ (๓ ก.ค. ๑๕ - ๒๙ ม.ค. ๑๖) ใช้ งป. ปี ๑๖ นับว่าเป็น ยุทธการแรก ที่ นย. ได้มี โอกาส ไปร่วม ปราบปราม ผกค. กับ กำลัง ทบ. (ทภ.๓) และ ทอ. ในพื้นที่ ป่าภูเขา ซึ่งอยู่ ห่างไกล ที่ตั้ง ของ ตนเอง และมี ภูมิประเทศ ที่แตกต่าง จาก ชายฝั่ง ทะเล ที่ นย. มีความ คุ้นเคย
จาก เอกสาร การบรรยายสรุป ของ น.อ.ประชา กนิษฐชาต ผบ.ผส.นย. ที่ บรรยายสรุป ให้ ผบ.ทร. และ นายทหาร ผู้ใหญ่ ของ ทร. ทราบ เกี่ยวกับ ยุทธการ สามชัย หรือ การฝึกร่วม ๑๖ เมื่อ ๑๕ พ.ย.๑๕ เวลา ๑๐๐๐ ณ ห้องประชุม ส่วนบัญชาการ ทร. จะช่วย ให้ทราบ สาเหตุ ความเป็นมา ที่ ทบ. ขอให้ ทร. จัด นย. ไปร่วม ปฏิบัติการ ตลอดจน ภูมิหลัง ต่าง ๆ ที่พอให้ คนรุ่นหลัง ได้ทราบ เช่น
- เมื่อ กลาง มิ.ย. ๑๕ กำลัง ของ นย. เพิ่งกลับ จาก การฝึก ทดสอบ แผนใน การปฏิบัติการ ใน ภาคใต้ ก็ได้รับ คำสั่ง ให้ไป วางแผน กับ ทบ. ใน การฝึกร่วม ๑๖ ที่ ศปก.ทบ. เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๑๕ ทันที
- จาก เอกสาร ลับมาก ของ บก.ทหาร สูงสุด และจาก คำกล่าว ของ ผอ.ฝร.๑๖ ในการ ประชุม วางแผน ฝึกร่วม ๑๖ มี สาระ สำคัญ ว่า "ทบ. ไม่มี เวลา พักผ่อน ในการ ปราบปราม ผกค. โดยเฉพาะ ในเขต ทภ.๓ ขอให้ ทร. ได้ช่วยบ้าง เพื่อให้ ทบ. ได้มี เวลา พักผ่อน ตามสมควร"
ประสพการณ์ ของ นย. ผบ.ผส.นย. ท่านกล่าว ในที่ ประชุม ศปก.ทบ. ว่า
- เกาหลีก็ไม่มีโอกาสไป
- เวียดนามก็ไม่ได้ไป
ประสพการณ์ จึงไม่มี แต่จะ ทำให้ดี ที่สุด งบประมาณ ไม่สำคัญ ความสำคัญ อยู่ที่ การฝึกเตรียม เพราะกลับตัว แทบไม่ทัน
การประกอบ กำลัง และ ยอดกำลังพล จัดเป็น ๓ ส่วนใหญ่ ๆ โดยเฉพาะ การจัด กำลัง ในส่วน ที่ ๒ และ ๓ นั้น เป็นการ จัดที่ประหยัดกำลังพลมาก
๑. พัน.ฉก.นย. (๑๐๖๑ ไม่รวม มว.บ.ฉก.)
- ๑ พัน.ร.ผส.นย. (พัน.ร.๑ เป็นแกนจัด บก.พัน. มี ๓ ร้อย.ปล. จัดจาก พัน.ร.๑ , พัน.ร.๓ และ พัน.ร.๗ กองพันละ ๑ ร้อย.ปล.)
- ๑ ร้อย.ป.๑๐๕ มม.
- ๑ มว.พ.
- ๑ มว.ลาดตระเวน
- ๑ มว.ช่าง
- ๑ มว.บินเฉพาะกิจ (มว.บ.ฉก. จัดจาก กบร.กร. มี บ.ตรวจการณ์ โอ.๑ จำนวน ๓ เครื่อง)
๒. ชุดสนับสนุน การช่วยรบ (๓๓) มีหน้าที่ คล้ายส่วน สนับสนุน ทางการ ช่วยรบ ของ การจัด กำลัง ยกพลขึ้นบก
๓. ประจำ กกล.เขต ทภ.๓ (๒๖)
กำลัง ส่วนนี้ มีชื่อเรียก ภายใน นย. ว่า บก.กกล.นย. ทำหน้าที่ ควบคุม กำลัง ของ ทร. ทั้งหมด ที่เข้า ปฏิบัติการ ใน ยุทธการสามชัย
- ในขั้น การฝึกเตรียม ทำหน้าที่ เป็น กองอำนวย การฝึก
- ในขั้น ปฏิบัติการ จริง แปลสภาพ กำลังพล เข้าไป อยู่ใน บก.กกล.เขต ทภ.๓ (ส่วนหน้า)
- บก.ผส.นย. เป็น แกนหลัก ในการ จัดกำลัง และ มีนายทหาร จาก กองพัน และ หน่วยต่าง ๆ ของ ผส.นย. มาร่วมด้วย โดยมี ผบ.ผส.นย. เป็น ผบ.หน่วย
การฝึกเพื่อเตรียมรบ เนื่องจาก นย. ยังขาด ประสพการณ์ ในการ รบจริง เป็นหน่วยใหญ่ และ พื้นที่ ปฏิบัติการ ก็แตกต่าง จากที่ นย. คุ้นเคย อีกทั้ง เป็น งานใหญ่ งานแรก จึงพลาด ไม่ได้ แพ้ไม่ได้ ดังนั้น ผบ.ผส.นย. ท่านจึง เน้นการ ฝึกเตรียม เป็น หัวใจ สำคัญ ที่สุด และถือ ได้ว่า การฝึกเตรียม สำหรับ ยุทธการ สามชัย เป็นการ ฝึกเตรียม เพื่อการ ปฏิบัติการรบ ที่สมบูรณ์ ที่สุด ที่ นย. เคย กระทำมา จนกระทั่ง บัดนี้ (พ.ศ.๒๕๔๐) โดยแบ่ง การฝึก ออกเป็น ขั้น ๆ ดังนี้
ขั้นที่ ๑ เป็นการ ฝึกเตรียม ตั้งแต่ ๓ ก.ค. - ๒๕ ส.ค.๑๕ ณ พื้นที่ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี , อ.แกลง จว.ระยอง และ อ.มะขาม อ.โป่งน้ำร้อน จว.จันทบุรี กระทำ การฝึก ในเรื่องต่าง ๆ
๑. อาวุธศึกษา และ การยิง อาวุธ ทุกชนิด
๒. แผนที่เข็มทิศ
๓. การปฐมพยาบาล
๔. วัตถุระเบิดและกับระเบิด
๕. สัญญาณ
๖. การต่อสู้ป้องกันตัว
๗. การเดินทาง ใน ป่า - ภูเขา และ การดำรงชีพ ในป่า
๘. การลาดตระเวน
๙. การเข้าฐานปฏิบัติการในป่า
๑๐. การซุ่มโจมตี และการต่อต้านการซุ่มโจมตี
๑๑. การเข้าตีที่มั่นแข็งแรง
๑๒. การปฏิบัติโดยฉับพลัน
จัดการฝึก เป็น สถานี มี ชุดครูฝึก ประจำ ใช้หลักฐาน การฝึก ทั้งจาก ของ นย. สหรัฐ ฯ และ จาก หลักสูตร การรบ ในป่า ของ ทบ.อังกฤษ ในช่วงหลัง ของ การฝึก จัดเป็น หน่วย หมู่ หมวด กองร้อย ขั้นสุดท้าย กองร้อย ปฏิบัติการ ๕ วัน โดยไม่มี การเพิ่มเติม เสบียงให้ ประสพการณ์ ต่าง ๆ ที่ ทบ. และ ตชด. เคยประสบ จุดอ่อน จุดแข็ง ของ ผกค. จะได้รับ การบอกเล่า ชี้แจง แก้ไข ป้องกัน และ เตรียมเอาไว้ ใช้รุก ตอบโต้ เช่น การยิง ปืนเล็ก ป้องกัน ฐานที่ตั้ง ใน เวลา กลางคืน ไม่เห็นตัว อย่ายิง อย่าหยุด ตั้งฐาน หลายวัน จะถูก ผกค. ตรวจพบ อย่าเดิน ตามเส้นทาง จะโดน ซุ่มโจมตี การเอา น้ำ ตามลำธาร ใน ภูมิประเทศ แหล่งที่ สะดวก จะมี กับระเบิด หรือ ถูกซุ่ม โจมตี การหาน้ำ จากต้นกล้วย ฯลฯ
ผลการฝึก เป็นที่ น่าพอใจมาก
ขั้นที่ ๒ เป็น การฝึก ในพื้นที่ ปฏิบัติการ ตั้งแต่ ๖ - ๒๖ ก.ย.๑๕ โดย เคลื่อนกำลัง ไปฝึก ที่ บริเวณ อ.หล่มเก่า และ อ.หล่มสัก จว.เพชขรบูรณ์ กำลัง ที่กระทำ การฝึก คือ ๒ กองร้อย ปืนเล็ก และ ๑ หมวด ลาดตระเวน เป็นการฝึก ในลักษณะ ปฏิบัติการจริง ใช้กระสุนจริง และ พื้นที่ ป่าเขา ของ พื้นที่ ปฏิบัติการจริง แต่เป็น ชายขอบ พื้นที่ ที่ ผกค. ไม่มี การปฏิบัติการ หนาแน่น ทำการฝึก ในขนาด หน่วย หมวด ปล. ปฏิบัติการ ๕ - ๖ วัน โดยไม่ ส่งกำลัง บำรุง ใน ลักษณะ การลาดตระเวนรบ ค้นหา ทำลาย ผลการฝึก ในขั้นนี้ ได้ประโยชน์มาก ทำให้ กำลังพล ได้ทราบ ลักษณะ ภูมิประเทศ จริง ๆ เช่น
- ป่าไม่ทึบ เกินไป เมื่อเปรียบเทียบ กับ ป่าเขา บริเวณ อ.มะขาม และ อ.โป่งน้ำร้อน แล้วทึบ กว่ามาก (เมื่อปี ๒๕๑๕ มิใช่ ปัจจุบัน ๒๕๔๐)
- ภูเขา สูงชัน ไม่เป็น อุปสรรค แก่ ทหารนาวิกโยธิน เพราะได้ฝึก ปืนเขา ที่ จันทบุรี ซึ่งสูง มาก ๆ มาแล้ว ทุกคน
- กำลังพล มีความ มานะ อดทนสูง อย่างน่าชมเชย สามารถ แบกสัมภาระ ต่าง ๆ ปืนขึ้นเขา ลงเขา ได้โดย ไม่บ่น
ผลการฝึก เป็นที่ น่าพอใจมาก และ การฝึก ในขั้นนี้ ทำให้ พลนำทาง ชาวม้ง ที่ทาง ทภ.๓ เตรียมไว้ให้ นย.นั้น หมดความ จำเป็น เนื่องจาก ชาวม้ง นำทาง เหล่านี้ รู้เฉพาะ เส้นทางเดิน ที่เขา เคยใช้ จาก จุดหนึ่ง ไปอีก จุดหนึ่ง เหมือนทางเดิน ตามชนบท พื้นราบ ซึ่ง นย. ไม่เดิน ตามนั้น เพราะจะ ไปเข้า ที่ซุ่มโจมตี ของ ผกค. นย. เดินตาม เข็มทิศ ตัดป่า มุ่งตรงไป หาที่ตั้ง ของ ผกค.
ขั้นที่ ๓ เป็นการฝึก เพิ่มเติม ตั้งแต่ ๘ - ๒๗ ต.ค.๑๕ เพื่อฝึกซ้ำ และ เพิ่มเติม ที่ครั้ง การให้ เกิดความ ชำนาญ ขึ้นไปอีก ทำการฝึก ใน พื้นที่ สัตหีบ ระยอง และ จันทบุรี วิชา ที่ฝึก ได้แก่
๑. การขอ และ ปรับการยิง ปืนใหญ่ โดย ผบ.หมู่ และ ผบ.หมวด ทหารราบ
๒. การฝึก ใช้รหัส ทางการ สื่อสาร โดย ผบ.หมู่ และ ผบ.หมวด ทหารราบ
๓. การรบ บนภูเขา และป่า
๔. การยิงปืนในป่า
๕. การเข้าตีที่มั่นแข็งแรง
๖. การปฏิบัติโดยฉับพลัน
๗. การขว้างระเบิด
๘. การยิงปืนในเวลากลางคืน
๙. การฝึก พลแม่นปืน โดยให้ แต่ละหมู่ คัดเลือก พลทหาร และ จ่า ที่ยิง ปืนแม่น มาทำการฝึก ยิงเป้า จนชำนาญ ใน ลักษณะ การยิง แบบ พลแม่นปืน ซุ่มยิง
จากการฝึกเตรียม อย่างเข้มข้น เช่นนี้ ทำให้ กำลังพล ทุกคน มีขวัญ และ กำลังใจ ดีมาก ทุกคน มีความ มั่นใจ ในขีดความ สามารถ ของ ตนเอง และ ของหน่วย มีความรัก หมู่คณะสูง มีเรื่อง และ เหตุการณ์บางอย่าง ยืนยัน เช่น
เรื่องแรก เกี่ยวกับ วินัย การยิงปืน เรากวดขัน มิให้ ยิงปืน เพื่อเอา เสียงปืน เป็นเพื่อน หรือ เพื่อข่ม ความกลัว จะยิงเมื่อ เห็นตัว มีเรื่องเล่า กันว่า พลทหาร คนหนึ่ง ในการ ป้องกัน ฐานพักแรม คืนวันหนึ่ง ขณะมอง เห็นตัว ผกค. ที่ ด้อม ๆ เกาะฐาน และ พยายาม ยิงปืน เพื่อให้ พวกเรา ยิงตอบโต้ จะได้ เป็นการ เปิดเผย แนวป้องกัน ฝ่ายเรา ก็เงียบ ทหารคนหนึ่ง มองเห็น ผกค. ยังอุตส่าห์ กระซิบ ผบ.หมู่ ขออนุญาต ยิงปืน เรื่องนี้ เป็นเรื่องเล่า ขำขัน ของ พวกเรา แต่ก็ แสดงถึง วินัย อันดีเยี่ยม อย่างหนึ่ง จากผล การฝึก
เรื่องที่สอง พลทหาร คนหนึ่ง ถูกยิง บาดเจ็บ และ ถูกส่ง กลับลง จากเขา มารักษา ใน โรงพยาบาลสนาม พอบาดแผลหาย พอปฏิบัติ งานได้ แม่ทัพภาค ๓ พล.ท.สำราญ แพทยาคุณ ท่านไป เยี่ยม และ ถามว่า จะกลับบ้าน ไปพักผ่อนไหม ทหารผู้นั้น ตอบว่า "ขอกลับขึ้น แนวรบอีก" มทภ.๓ ท่านถามว่า ทำไม ไม่ไป พักผ่อนละ ทหารผู้นั้น ตอบว่า "ผม เป็นห่วง ผบ.หมู่ และ เพื่อน ในหมู่ ขณะนี้ เหลือเพียง ๑๑ คนเท่านั้น เพราะเสีย ชีวิต ๑ คน และ ผมมา ป่วยอีก ๑ คน (หมู่ ปล.นย. มี ๑๓ คน) เมื่อผม กลับขึ้นไป จะมี คนเพิ่ม อีก ๑ คน" มทภ.๓ ท่านหันมา ถาม ผบ.ผส.นย. ว่า นย.ฝึกกัน อย่างไร ถึงได้คนอย่างนี้ ผู้เขียน เป็น นายทหาร ยุทธการ ของ กกล.นย. ติดตาม ผบ.ผส.นย. ไปใน คณะด้วย จึงทราบ เรื่องนี้ และ ติดหู ติดตา มาตลอด ทหารผู้นั้น ได้กลับ ขึ้นแนวรบ ไปอีก ตามที่ เขาต้องการ นับเป็น เกียรติ ประวัติ ที่น่า ชื่นชม เป็นอย่างยิ่ง

พื้นที่ปฏิบัติการของ พัน.ฉก.นย.
การเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติกาาร
การเคลื่อนย้าย กำลัง ต่าง ๆ ของ พัน.ฉก.นย. จากที่ รวมพล พัน.ร.๑ ผส.นย. ค่ายกรมหลวงชุมพร อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี เข้าสู่ พื้นที่ รวมพล ขั้นสุดท้าย ที่ ค่ายลูกเสือ เมืองลุ่ม อ.หล่มเก่า จว.เพชรบูรณ์ โดย ยานยนต์ กระทำ เป็น ๓ ส่วน (เที่ยวขน) ส่วนการ เคลื่อนย้าย จาก ที่รวมพล ขั้นสุดท้าย ขึ้นสู่ ฐานปฏิบัติการ บ.ป่ายาบ (บนเขา) ใน พื้นที่ รับผิดชอบ นั้น กระทำ ด้วยกำลัง ทาง อากาศ กำลังพล ทหารราบ ลำเลียง ด้วย ฮ.ฮิวอี้ ของ ทบ. และ ทอ. รวม ๑๐๕ เที่ยว , ป. ๑๐๕ มม. ยกหิ้ว ด้วย ฮ.ซีนุก ของ ทบ. ทก.พัน.ทาง ยุทธวิธี ตั้งอยู่ที่ บ.ป่ายาบ ณ ฐานปฏิบัติการ บ.ป่ายาบ ซึ่งตั้ง อยู่บน ยอดเขา ลูกหนึ่ง ของ เทือกเขา ที่เป็น รอยต่อ เขตแดน ๓ จังหวัด เพชรบูรณ์ เลย และ พิษณุโลก ซึ่งมี ภูหินร่องกล้า รวมอยู่ ด้วยนี้ ร้อย.ปล. ทั้ง ๓ กองร้อย ของ พัน.ฉก.นย. ได้ เคลื่อนย้าย เข้าปฏิบัติการ ใน เขตพื้นที่ รับผิดชอบ ของ ตนต่อไป ส่วน ร้อย.ป. ก็ใช้ เป็นฐานยิง สนับสนุน ให้แก่ ร้อย ปล. ทั้ง ๓ กองร้อย ของ พัน.ฉก.นย. ได้อย่าง ทั่วถึง ทุกจุด และยัง สามารถ ยิงสนับสนุน กำลัง ของ ทบ. ใน พื้นที่ ข้างเคียง ได้ด้วย นับว่า เป็นที่ตั้ง ปืนใหญ่ ที่เหมาะสมมาก
ส่วนกำลัง ของ บก.กกล.นย. ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่ง ของ กำลัง ใน กกล. เขต ทภ.๓ (ส่วนหน้า) และ ชุดสนับสนุน การช่วยรบ นั้น เคลื่อนย้าย จาก บก.ผส.นย. สัตหีบ โดย ยานยนต์ ไปเข้า ที่รวมพล ณ ค่ายลูกเสือ พ่อขุน ผาเมือง อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์ ในขั้น การเคลื่อนย้าย เข้าสู้ พื้นที่ ปฏิบัติการ นี้ ใช้เวลา ตั้งแต่ ๓ พ.ย.๑๕ ถึง ๒๘ พ.ย.๑๕ รวม ๒๖ วัน

ป. ๑๐๕ มม. จาก ฐานยิง KING บ.แม้วป่ายาบ กำลังยิง สนับสนุน ร้อย.ร.
การปฏิบัติการ ระยะ เวลา ตั้งแต่ ๑ ธ.ค.๑๕ ถึง ๒๙ ม.ค.๑๖ รวม ๖๐ วัน
เป็นการ ลาดตระเวนรบ ด้วยหน่วย ขนาด กองร้อย ปืนเล็ก เพิ่มเติม กำลัง ใน พื้นที่ ปฏฺบัติการ ที่ได้ รับมอบ โดยการ เคลื่อนย้าย ค้นหา ทำลาย และ หยุดเข้า ฐานพัก แรมคืน แห่งละ ๑ - ๓ คืน มีการส่ง หมวดปืนเล็ก แยกออกไป ปฏิบัติการ เป็น ครั้งคราว การปฏิบัติ จะพุ่ง เข้าหา ที่หมายหลัก คือ ฐาน หรือ ที่พัก ผกค. ที่ คาดหมายไว้ แต่ละ กองร้อย จะรุก คืบหน้า ไปเรื่อย ๆ จนถึง ที่หมาย ขั้นสุดท้าย ของ ตนเอง การเดินทาง ใช้ตาม ระบบ แผนที่ เข็มทิศ เป็น หลัก การเข้าฐาน พักแรมคืน ใน แต่ละวัน จะใช้ ปืนใหญ่ ยิงกระสุนควัน MARKING ROUND เพื่อหา ที่อยู่ ที่แน่นอน ของ ฐาน เมื่อถูก โจมตี ปืนใหญ่ จะยิง ช่วยได้ อย่างรวดเร็ว ทันการ และ แม่นยำ ในศึก ครั้งนี้ ปืนใหญ่ มีบทบาทมาก โดยเฉพาะ กองร้อย ปืนใหญ่ ของ นย. ซึ่งมี ร.อ.สมภูรณ์ สุนทรเกตุ เป็น ผบ.ร้อย มี ผลงาน จนเป็น ที่ยอมรับ ของ กองพัน ทหารราบ ต่าง ๆ ของ ทบ. ที่เข้าร่วม ปฏิบัติการ ในครั้งนั้น
ใน ยุทธการ สามชัย นย. ได้ บทเรียน มากมาย การรบ ครั้งหนึ่ง ใน หลาย ๆ ครั้ง ใน ยุทธการ สามชัย ถือได้ว่า เป็นการ ปฏิบัติการ ร่วมกัน ของ กำลัง ทางบก และ ทางอากาศ ของ สามเหล่าทัพ จริง ๆ สมตาม ชื่อว่า "ยุทธการสามชัย" คือ การช่วย คนเจ็บ กลับออก จาก พื้นที่ การรบ ของ ร้อย ปล. ที่ ๒ ซึ่งมี ร.อ.ชีวิน ปิ่นทอง เป็น ผบ.ร้อย เนื่องจาก ผกค. ได้เกาะ อยู่รอบ ๆ ฐาน ปฏิบัติการ ของ กองร้อย การนำ ฮ. ลงรับ คนป่วย ต้องใช้ กำลัง ทางอากาศ ของ ทอ. ทิ้งระเบิด และ ยิง ปก. สกัด ทำลาย ข่มไว้ ทางด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง ใช้ ปืนใหญ่ ๑๐๕ มม. จาก ร้อย ป.นย. (ซึ่งมี ร.อ.สมภูรณ์ สุนทรเกตุ เป็น ผบ.ร้อย.) ยิงสกัด ข่มไว้ อีกด้านหนึ่ง และ ฮ.ของ ทบ. จะต้อง บินรอดใต้ กระสุนวิถี ของ ปืนใหญ่ เข้ามา ลงรับ คนป่วย จึงสำเร็จ ถือว่า เป็นการ ปฏิบัติการร่วม สามเหล่าทัพ ที่สมบูรณ์ จริง ๆ รายละเอียด การปฏิบัติ พล.ร.ท.ทวีชัย เลียงวิบูลย์ รอง ผบ.กร. ซึ่งเป็น นายทหาร ยุทธการ ทางอากาศ ของ กกล.นย. และ กกล.ทภ.๓ (สน.) ใน ขณะนั้น ได้รวบรวม ไว้เป็น ประวัติศาสตร์ แล้ว
การปะทะ กับ ผกค. ซึ่ง ๆ หน้า ใน ลักษณะ การปฏิบัติ แบบฉับพลัน ฝ่ายเรา ได้เปรียบ ผกค. ตลอด ยิงก่อน ยิงแม่นกว่า การเคลื่อนย้าย ฐานปฏิบัติการ ระดับ กองร้อย หรือ หมวด ทุก ๆ วัน ไม่เคย ถูก ผกค. รบกวนฐาน เพราะ ผกค. ยังไม่พบฐาน เนื่องจาก เดาไม่ถูกว่า ฝ่ายเรา เคลื่อนย้าย ไปทางใหน เพราะเรา เดินตาม เข็มทิศ ไม่เดินตาม เส้นทาง แม้เมื่อ ถูกตรวจ พบฐาน ผกค. พยายาม ยิงเพื่อ ให้ฝ่ายเรา ยิงโต้ตอบ เพื่อเปิด เผยแนว แต่เมื่อ ฝ่ายเรา เงียบสงบ และ จะยิง เฉพาะเมื่อ เห็นตัว ซึ่ง ผกค. ก็จะ บาดเจ็บ กลับไป ทุกครั้ง และตราบใด ที่ ผกค. ยังไม่ทราบ แนวป้องกัน ผกค.จะ ไม่กล้า เข้าตี เป็น กลุ่มก้อน
การเคลื่อนที่ ของเรา ด้วยการ เดินตัดป่า ตามเข็มทิศ แม้จะ ไปได้ช้า แต่ปกปิด จุดมุ่งหมาย เมื่อถึง ที่หมายหลัก จึงสามารถ จู่โจม ทำลาย ได้ง่าย สำเร็จ ตามแผน ที่หน่วยเหนือ มอบกิจให้
พลทหาร ที่ได้รับ การฝึก อย่างเข็มข้น จ้ำจี้ จ้ำไช จะมีขีด ความสามารถ ใกล้เคียง กันทั้งหมู่ จนสามารถ ทำการ แทนกันได้ และมี ความรัก สามัคคี ในหน่วย สูงมาก การปฏิบัติการ เกือบจะ ไม่ต้อง สั่งด้วย วาจา
การส่ง เสบียง อาหาร พัน.ฉก.นย. ส่งทุก ๓ วัน เนื่องจาก เกรงว่า ถ้าส่ง ทุก ๕ วัน จะทำให้ ทหารต้อง แบกน้ำหนัก มากเกินไป เพราะมี กระสุน อยู่ ๑ อัตรามูลฐาน พร้อมวัตถุ ระเบิด อยู่ด้วยแล้ว แต่ความจริง ที่พบ ในยุทธการ สามชัย ครั้งนี้ คือ อัตรา เสบียง อาหารแห้ง พวก ข้าวสาร ที่เรา คำนวณ ว่า ทหารคนหนึ่ง ต้องกิน วันละ ๗๐๐ กรัม / คน นั้น ในยามรบ ที่ต้อง เคลื่อนย้าย ทุกวัน เช่นนี้ ทหารจะ รับประทาน ข้าวสาร น้อยกว่า อัตรา ที่กำหนด ให้ เพราะทหาร จะหุง อาหาร วันละ ๒ ครั้ง และ อาหารหลัก ก็วันละ ๒ ครั้ง เท่านั้น มื้อกลางวัน ไม่มี เวลา หุงหา อาหาร ดังนั้น อาหาร มื้อกลางวัน จึงเป็น ของที่ กินง่าย ๆ ไม่ต้อง ปรุงแต่ง เช่น ข้าวตู ข้าวตาก มาม่า ยำยำ ฯลฯ อะไรก็ได้ ที่สามารถ กินได้ โดยไม่ต้อง ใช้ไฟ หรือ น้ำร้อน การส่ง เสบียง ในช่วง ต่อมา นย. จึงทำเป็น ข้าวคั่ว ใส่พริกแห้ง กุ้งแห้ง ให้มี โปรตีน สามารถ กินได้ ตลอดเวลา อนึ่ง ขนมหวาน ต่าง ๆ ก็เป็นที่ ทหารชอบมาก เช่น พวก ถั่วตัด ข้าวเหนียวแดง ฯลฯ สำหรับ ข้าวสารนั้น ในระยะหลัง หน่วยของ ให้ลด จำนวนลง เพราะใช้น้อย กว่าที่ คำนวณไว้ ความจริง อัตรา ข้าวสาร ๗๐๐ กรัม / คน / วัน ในที่ตั้ง ปกติ สำหรับ พลทหาร เมื่อ ๒๕ ปีโน้น ถ้าวันใด มีน้ำพริก ข้าวจะ ไม่พอ ด้วยซ้ำไป
น้ำดื่ม เป็นเรื่อง สำคัญ ที่จะต้อง ส่งให้ ทุกเที่ยวเสบียง เนื่องจาก ใน พื้นที่ ปฏิบัติการ น้ำ หายาก ทุกจุด ที่มีน้ำ ก็มี กับระเบิด และ มีการ ซุ่มโจมตี ของ ผกค. มีหลายครั้ง ที่ ผบ.ผส.นย. ให้เอา น้ำใส่ท่อ พลาสติก ชนิดนิ่ม ขนาดโต ๆ โดยมัด หัว ท้าย เป็นท่อน ๆ ส่งโดย การทิ้ง FREE DROP จาก ทางอากาศ
ครั้งหนึ่ง มีการ ส่งเสบียง นอกรอบ คือ ร้อย.ปล. ๒ พัน.ฉก.นย. ถูก ผกค. ล้อมอยู่ รอบ ๆ ฐาน จน ฮ. ไม่สามารถ ลงส่ง เสบียง ให้ได้ และ ก็ยัง รับคนเจ็บ กลับไม่ได้ด้วย เลยเวลา มาแล้ว เป็น วันที่ ๒ บรรดา นายทหารหนุ่ม ระดับ ร.อ. - พ.ต. (น.ต.) ทั้งสาม เหล่าทัพ ที่ ปฏิบัติงาน อยู่ ใน บก.กกล. เขต ทภ.๓ (ส่วนหน้า) ที่ สนามบิน หล่มสัก ได้รวบรวม เงินกัน กว้านซื้อ กล้วยทอด มันทอด จนหมด ตลาดหล่มสัก ให้ บ.ตรวจการณ์ (บ.โอ.๑ เอ) ของ ทอ. เอาไป ทิ้งให้ ร้อย.ปล.๒ พอจบ ภารกิจแล้ว ถาม ผบ.ร้อย.ปล.๒ ว่า ได้รับ คำตอบ ว่า "พี่ วันนั้น ได้กล้วยทอด มันทอด คนละ ๒ - ๓ ชิ้น ดีกว่า ไม่มี อะไรเลย" ถือว่า เป็นการ แสดงความ ห่วงใย ซึ่งกัน และกัน ของ เพื่อนร่วมรบ ที่เห็นใจ และ เข้าใจ สถานการณ์ ที่เพื่อน ประสพอยู่ การยิง สนับสนุน ทางอากาศ โดยใกล้ชิด จาก บ.ทอ. หลาย ๆ ครั้ง สำเร็จ ผลดียิ่ง เพราะนักบิน กับ ผบ.ร้อย.ปล. เป็นเพื่อน รุ่นเดียวกัน การช่วยเหลือ จึงมิใช่ กระทำตาม หน้าที่ เท่านั้น แต่เป็นการ กระทำ เพื่อช่วยเหลือ เพื่อนตนเอง ด้วย
การส่ง กระสุน เพิ่มเติม ตลอดเวลา เกือบไม่ได้ กระทำ เพราะกำลังพล ที่ได้รับ การฝึก อย่างดี นั้น จะใช้ กระสุนน้อย และ คุ้มค่า แม้ว่า จะมีการ ปะทะ บ่อยครั้ง ก็ตาม
วงรอบ เสบียง ในกิจ เช่นนี้ ภูมิประเทศ เช่นนี้ ควรใช้ วงรอบ เสบียง ๕ วัน เสบียง ควรเป็น ของ กึ่งสำเร็จรูป ปรุงก็ได้ ไม่ปรุง ก็กินได้ มีน้ำหนักเบา มีคุณค่า ทางอาหาร พอเพียง
พลโท บุญชัย บำรุงพงศ์ ผู้อำนวยการ ฝึกร่วม ปี ๑๖ ได้กล่าว รายงาน สรุปผล การฝึกร่วม ปี ๑๖ ให้ ผบ.ทหารสูงสุด , ผบ.ทบ. , ผบ.ทอ. และ อธิบดี กรมตำรวจ พร้อมด้วย ผู้แทน ๓ เหล่าทัพ ประมาณ ๓๐๐ คน ฟัง ณ หอประชุม กิตติขจร รร.นายร้อย จปร. เมื่อ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๖ ตอนหนึ่ง ที่ท่าน ผู้อำนวยการ ฝึกร่วม ปี ๑๖ กล่าว พัน.ฉก.นย. ว่า.
"กระผม มีความ ภาคภูมิใจ เป็นอย่างยิ่ง ที่มี กำลัง ของ หน่วยนี้ เข้าปฏิบัติการ ร่วมด้วย ตลอดระยะ เวลา ที่กำลัง นาวิกโยธิน หน่วยนี้ เข้าปฏิบัติการ กระผม ขอกราบเรียน ด้วยความ จริงใจ ว่า กองพัน นาวิกโยธิน กองพัน นี้ มีประสิทธิภาพสูง สามารถ เข้าร่วม การฝึก เคียงบ่า เคียงไหล่ กับ กองพัน ของ กองทัพบก ได้อย่าง ดีเยี่ยม"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพ ฯ
เสด็จเยี่ยม ร้อย.ป.พัน.ฉก.นย. ที่ บ้านป่ายาบ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๖ น.ต.สมภูรณ์ สุนทรเกตุ ผบ.ร้อย.ป.พัน.ฉก.นย. กำลังถวายรายงาน
โดยมี น.อ.ประชา กนิษฐชาติ และ น.ท.สมหวัง ตันเสถียร ผบ.พัน.ฉก.นย. ตามเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยม พัน.ฉก.นย.
เหนือสิ่ง อื่นใด พระบาท สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระบรม ราชนินาถ พร้อมด้วย สมเด็จ พระเจ้า ลูกยาเธอ เจ้าฟ้า สิรินธร เทพรัตน ราชสุดา และ สมเด็จ พระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้า จุฬาภร วลัยลักษณ์ ได้ทรง เสี่ยงอันตราย เสด็จ พระราช ดำเนิน โดย เฮลิคอปเตอร์ ไป ทรงเยี่ยม พัน.ฉก.นย. ถึง ฐานปฏิบัติการ ณ บ้านป่ายาบ เมื่อ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๖ ซึ่ง ขณะนั้น ยังทำ การรบ กันอยู่ ต้องเสด็จ พระราช ดำเนิน ผ่านคู สนามเพลาะ ด้วยความ ยากลำบาก

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จทอดพระเนตรบริเวณรอบ ๆ ฐานกองร้อยปืนใหญ่ ที่ บ้าป่ายาบ
น้ำตา แห่งความ ปลื้มปิติ ยินดี และ ซาบซึ้ง ใน พระมหา กรุณา ธิคุณ คลออยู่ ใน ดวงตา ของ ทหารนาวิกโยธิน โดยไม่รู้ตัว ความเหนื่อยยาก และ ทุกข์ ทรมาน เหือดหาย ไปอย่าง ปลิดทิ้ง ทหารนาวิกโยธิน ทุกผู้นาม ต่างสวด ภาวนา ขอให้ ทั้งสี่ พระองค์ ทรงพระเจริญ และ ปลอดภัย
 

น.อ.ประชา กษิฐชาติ และ น.ต.สมภูรณ์ สุนทรเกตุ
กราบบังคมทูล สรุปสถานการณ์
พล.ร.ท.วสินธ์ สาริกะภูติ ผู้บันทึก ตั้งแต่ เป็น นยก.พัน.ร.๗ ผส.นย. ทำหน้าที่ นยก.กกล.นย. และ ผช.หก.ยก.กกล.ทภ.๓ (ส่วนหน้า) ใน ยุทธการ สามชัย ยศ น.ต.