ชื่อเรื่อง - ประวัติการยุทธต่าง ๆ

Release Date : 03-04-2015 11:10:00
ชื่อเรื่อง - ประวัติการยุทธต่าง ๆ


   
สงครามอินโดจีน  เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เจ้าพระยายมราช และ พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนต์โยธิน ลงนามในประกาศ และพระยามานวราชเสวีประธานสภาผู้แทนราษฏรเป็นผู้สนองพระบรมโอง การจำนวนคณะรัฐมนตรี ๒๔ คน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นสงครามผนวกเข้ากับมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือจะเรียกว่าหางสงครามก็ได้ และเป็นสงครามที่ญี่ปุ่นก่อขึ้นโดยเฉพาะเพื่อให้สมตามที่ตนได้สัญญาไว้กับเยอรมัน และอิตาลี ซึ่งเราเรียกกันว่า ฝ่ายอักษะ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการบ้านหาดเล็ก เหตุการณ์ที่บ้านหาดเล็กได้ทวีความรุนแรงขึ้นมีการก่อกวนราษฎรไทยที่อาศัยและประกอบอาชีพประมง บริเวณหมู่บ้านหาดเล็กบ่อยครั้ง และเมื่อ ๒ มกราคม ๒๕๐๙ ทหารกัมพูชาได้ยิงปืนเล็ก ปืนกล และปืนใหญ่ขนาด ๗๕ มม. เข้ามายังหมู่บ้านหาดเล็ก ทางกรมนาวิกโยธิน จึงได้สั่งให้ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมนาวิกโยธิน จัดกำลังไปป้องกันบ้านหาดเล็ก ในขณะนั้นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเมื่อครั้ง ดำรงยศเป็น เรือโท วสินธ์ สาริกะภูติ ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดปืนเล็กเพิ่มเติมกำลัง นำกำลังไปป้องกันบ้านหาดเล็ก ได้กรุณาเขียนเล่าเหตุการณ์ที่บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการบ้านโขดทราย นับตั้งแต่ กองทัพเวียดนามเข้ายึดกรุงพนมเปญ จากกองทัพเขมรแดงเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ทำให้กองกำลังเขมรแดงถอยร่นมาอยู่ทางภาคตะวันตก ของประเทศ บริเวณพื้นที่ตามแนวชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่ารกทึบ สร้างความยกลำบาก ในการเข้ากวาดล้างของกำลัง เวียดนาม ทำให้การสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลานาน การสู้รบระหว่างกำลังทหารเวียดนามกับกำลังเขมรแดงบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ส่งผลให้เกิดความไม่สงบ ตามแนวชายแดนเสมอ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการบ้านกระดูกช้าง   สถานการณ์การสู้รบในประเทศกัมพูชา มีผลให้กองกำลังติดอาวุธและประชาชนชาวกัมพูชารุกล้ำอธิปไตย และหนีภัยจากการสู้รบ เข้าเขตประเทศไทยบ่อยครั้ง ในต้นเดือนมกราคม ๒๕๒๘ กำลังฝ่ายเวียดนาม/เฮงสัมริน ดำเนินการกวาดล้างกำลังทหารกัมพูชาฝ่ายซอนซาน บริเวณพื้นที่ชายแดนตรงข้ามบ้านกระดูกช้าง ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยฝ่ายทหารเวียดนาม/เฮงสัมริน ส่งกำลังขนาด ๑ กรมทหารราบ (๔๐๐-๖๐๐ คน)สนับสนุนด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด ๖๐ มม. เครื่องยิงลูกระเบิด ๘๒ มม., ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ๗๕ มม., ปืนใหญ่ ๑๒๐ มม.และปืนใหญ่ ๑๕๕ มม.ทำให้ทหารกัมพูชาต้องอพยพประชาชนจากบริเวณบ้านสุขสันต์ เข้าเขตประเทศไทย บริเวณบ้านกระดูกช้าง ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และทหารเวียดนาม/เฮงสัมริน ส่งกำลังรุกไล่ติดตามกวาดล้างทหารกัมพูชาในพื้นที่บ้านสุขสันต์ โดยวางกำลังรุกล้ำอธิปไตยในเขตประเทศไทย บริเวณพิกัด ทียู.๕๔๗๘,ทียู.๕๕๗๗ และ ทียู.๕๒๘๐ ห่างจากแนวชายแดนประมาณ ๑–๒ กิโลเมตร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการบ้านหนองกก จากเหตุการณ์การสู้รบในกัมพูชาส่งผลกระทบต่อราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนในพื้นที่ กำลังของเวียดนามเข้าทำการกวาดล้าง กำลังเขมรแดงบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ทำให้การสู้รบรุกล้ำเข้ามาในเขตไทยบ่อยครั้ง บริเวณพื้นที่ บ.หนองกก อ.โป่งน้ำร้อน จว.จันทบุรี เป็นพื้นที่หนึ่งที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว ในขณะนั้น พัน.ร.๓ กรม ร.๑ นย. โดยมี น.ท.นรินทร์ อนันตสุข เป็นผู้บังคับกองพัน ได้รับมอบหน้าที่ในการจัดกำลังเป็น พัน.ร.๓ กจต.ปฏิบัติภารกิจป้องกันอธิปไตย บริเวณชายแดนด้าน อ.โป่งน้ำร้อน จว.จันทบุรี ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๕
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการบ้านชำราก เมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๒๘ กองกำลังทหารฝ่ายเวียดนาม สังกัด พล.ร.๓๓๙ จำนวน ๒ กรม ร. ปฏิบัติการโจมตีกวาดล้าง กำลังทหารกัมพูชาประชาธิปไตย( กพป.) ซึ่งมีฐานที่มั่น ตามแนวชายแดนบริเวณเทือกเขาบรรทัดตรงข้ามบ้านชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด การโจมตีของกองกำลังเวียดนามซึ่งมีกำลังกำลังรบและอาวุธสนับสนุนที่เหนือกว่าทำให้กำลัง ของ กพป.ไม่สามารถต้านทานการเข้าตีของกำลังเวียดนามได้ จึงแตกถอยร่นเข้ามาในเขตประเทศไทย กำลังเวียดนามรุกไล่ติดตามเข้ามาในเขตประเทศไทยและทำการยึดพื้นที่ดัดแปลง ที่มั่น ตลอดจนสร้างที่มั่นแข็งแรง ทำการตั้งรับตั้งแต่แนวเส้นกริดนอน ทียู.๕๔ แนวเส้นกริดนอน ทียู.๔๔
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการหาดดอนน้อย  หน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง เป็นหน่วยปฏิบัติการร่วมระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่กำลังพลส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ ไปจาก กองทัพเรือ หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง เริ่มจัดตั้งเป็นหน่วยเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับกองทัพภาคที่ ๒ ส่วนหน้า ปฏิบัติงานสนับสนุนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยกองทัพเรือ ได้จัดเรือรบที่ใช้ปฏิบัติในลำแม่น้ำออกทำการลาดตระเวน เฝ้าตรวจตามลำแม่น้ำโขง เพื่อป้องกันการแทรกซึม และลักลอบขนอาวุธสงคราม เข้ามาสนับสนุนผู้ก่อการร้ายในประเทศไทย หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง มีพื้นที่ปฏิบัติการควบคุม ๗ จังหวัด ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น ๙๔๖ กิโลเมตร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ยุทธการบ้านสามชัย

                                          

ก่อนจะกล่าวถึงบทบาทของทหารนาวิกโยธิน ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) นั้น ควรจะได้ทราบถึงความเป็นมาโดยสังเขปของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยเสียก่อน วัตถุประสงค์ของลัทธิคอมมิวนิสต์คือ การล้มล้างการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยของประเทศต่าง ๆ ให้หมดสิ้น แล้วเปลี่ยนเป็นระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ การจะที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คอมมิวนิสต์ต้อง ได้รับการ สนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้น พร้อมกับการใช้กำลังถืออาวุธเข้าโค่นล้มรัฐบาล
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการผาภูมิ หลังจากการฝึกร่วมปี ๑๖ ตามแผนยุทธการสามชัย ในการปราบปราม ผกค.ที่ภูหินร่องกล้า บริเวณพื้นที่รอยต่อของจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ได้เสร็จสิ้นไปด้วยความสำเร็จผลอย่างงดงาม แล้ว บก.ทหารสูงสุด ได้มีคำสั่งให้มีการฝึกร่วมในปี ๑๗ อีกครั้งหนึ่ง ตามแผนยุทธการผาภูมิ เพื่อปราบปราม ผกค.ที่ดอยผาจิ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของจังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุทธการกรุงชิง สาเหตุของการจัดทหารนาวิกโยธินปราบปรามก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในเขตจังหวัดภาคใต้สืบเนื่องจากค่ายกรุงชิงซึ่งเป็นค่าย ผกค.อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ ๔ ของกองทัพบก และกองทัพภาคที่ ๔ ไดส่งกำลังเข้าปราบปราม ผกค. ณ ที่แห่งนี้หลายครั้ง แต่ ผกค.ในพื้นที่ส่วนนี้ก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวไม่หมดสิ้น เนื่องจากขาดแคลนกำลังพล กองทัพภาคที่ ๔ กองทัพบก จึงได้ขอกำลังทหารนาวิกโยธิน จำนวน ๑ กองพันทหารราบเพิ่มเติมกำลังสนับสนุนในการปราบปราม ผกค.กลุ่มนี้ และในที่สุดกองบัญชาการทหารสูงสุด ก็ได้อนุมัติตามข้อเสนอของกองทัพบกและได้เข้าปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชใน พ.ศ.๒๕๒๐ โดยประกอบกำลังเป็น
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ (ฉก.นย.ภต.) ปฏิบัติภารกิจด้านการเมือง การทหาร ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ในปัจจุบัน ซึ่งทหารนาวิกโยธินเริ่มเข้าปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ยะลาปัตตานี,นราธิวาส) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ จนถึงปัจจุบัน โดยใช้นามหน่วยและชื่อย่อแตกต่างต่างกันไปตามลำดับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การป้องกันชายแดน นับตั้งแต่ประเทศไทยต้องสูญเสีย เขาพระวิหารให้แก่ฝ่ายกัมพูชาไป ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ก็เริ่มเสื่อมถอยลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๐๘ ทหารฝ่ายกัมพูชา ประมาณ ๑ กองร้อย ได้รุกล้ำเขตแดนไทย ด้านอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ปะทะกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างรุนแรง เข้ายึดบริเวณช่องเขาคีรีวงษ์ เพื่อจะทำการเข้าตีและ ยึดสถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การรักษาความสงบเรียบร้อย นับตั้งแต่รัฐบาลได้สั่งยุบเลิกทหารนาวิกโยธินทั้งหมด เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ เนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตรากำลังของทหารนาวิกโยธิน ใหม่หมด โดยให้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า “ กองป้องกันสถานีทหารเรือสัตหีบ” มีกำลังพลประมาณ ๑ กองพันเท่านั้น ตั้งอยู่ที่สัตหีบ บริเวณที่ตั้งของหน่วยทหารนาวิกโยธินเดิม มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณสถานีทหารเรือสัตหีบ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วีรกรรมทหารกล้า
รายนาม วีรกรรมทหารกล้านาวิกโยธิน