ยุทธการหาดดอนน้อย
 

       หน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง เป็นหน่วยปฏิบัติการร่วมระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่กำลังพลส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ ไปจาก กองทัพเรือ หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง เริ่มจัดตั้งเป็นหน่วยเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับกองทัพภาคที่ ๒ ส่วนหน้า ปฏิบัติงานสนับสนุนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยกองทัพเรือ ได้จัดเรือรบที่ใช้ปฏิบัติในลำแม่น้ำออกทำการลาดตระเวน เฝ้าตรวจตามลำแม่น้ำโขง เพื่อป้องกันการแทรกซึม และลักลอบขนอาวุธสงคราม เข้ามาสนับสนุนผู้ก่อการร้ายในประเทศไทย หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง มีพื้นที่ปฏิบัติการควบคุม ๗ จังหวัด ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น ๙๔๖ กิโลเมตร

      เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ กองทัพเรือได้มีคำสั่งให้กรมนาวิกโยธิน จัดกำลัง ๑ หมวดปืนเล็กเพิ่มเติมกำลังไปขึ้นสมทบกับ หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง และเมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ กองทัพเรือให้กรมนาวิกโยธิน จัดกำลังเพิ่มเป็น ๑ กองร้อยปืนเล็กเพิ่มเติมกำลัง หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง ได้เฉลี่ยกำลังส่วนนี้ไปประจำตามสถานีเรือต่าง ๆ หลายสถานีและหลายพื้นที่เช่น สถานีเรือเชียงแสน สถานีเรือเชียงของ สถานีเรือเชียงคาน สถานีเรืออำเภอสังคม สถานีเรือศรีเชียงใหม่ สถานีเรือโพนพิสัย สถานีเรือบึงกาฬ สถานีเรือบ้านแพง สถานีเรือท่าอุเทน สถานีเรือธาตุพนม สถานีเรือมุกดาหาร สถานีเรือเขมราฐ และสถานีเรือโขงเจียม โดยให้กำลังที่แบ่งไปนี้ทำหน้าที่ป้องกันรักษาความปลอดภัย ที่ตั้งหน่วย และฐานปฏิบัติการย่อยของหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงให้ปลอดภัยจากจารกรรม การโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ใช้เป็นกำลังตอบโต ้ตามสถานการณ์ และปฏิบัติการอื่น ๆ ตามคำสั่งของ ผู้บังคับหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง

 
 

      นับตั้งแต่ หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง ได้หน่วยปฏิบัติการลาดตระเวนในลำน้ำโขง ปรากฏว่ามีการแทรกซึมส่งคนและลักลอบส่งอาวุธสงคราม เพื่อสนับสนุนการก่อการร้ายและผู้เสียผลประโยชน์ได้พยายามดักซุ่มโจมตีเรือหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอยู่เสมอมา เจ้าหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง ก็ได้พยายามปฏิบัติการอย่างระมัดระวัง และใช้ความอดกลั้นอย่างดีที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์และความสัมพันธ์อันดีกับประเทศลาว แต่ความอดกลั้นของฝ่ายเรากลับทำให้ทหารลาวกำเริบ ปฏิบัติการคุกคามฝ่ายเรายิ่งขึ้น

      เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงที่สถานีเรืออำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้รับรายงานว่า จะมีการลักลอบนำอาวุธสงครามข้ามมายังฝั่งไทย จึงได้สั่งการให้เรือ ล.๑๒๓ ไปสกัดกั้น ขณะที่กำลังลาดตระเวนอยู่ในเขตไทยบริเวณดอนน้อย ตำบลบ้านโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ประมาณเวลา ๑๓๓๐ ได้ถูกทหารฝ่ายประเทศลาว ทำการคุกคามด้วยการระดมยิงอย่างหนักด้วยปืนชนิดต่าง ๆ และจรวดอาร์พีจี บริเวณเกาะดอนแดง ทางกราบซ้ายของเรือ ผู้ควบคุมเรือได้วิทยุรายงานให้สถานีเรืออำเภอศรีเชียงใหม่ทราบ และได้นำเรือหลีกเลี่ยง การปะทะแต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เรือ ล.๑๒๓ จึงได้ทำการยิงโต้ตอบเพื่อป้องกันตนเอง ต่อมา สถานีเรืออำเภอศรีเชียงใหม่ ได้ส่งเรือ ล.๑๒๘ มาช่วยเหลือ ผู้ควบคุมเรือ ล.๑๒๓ จึงให้เรือ ล.๑๒๓ แล่นไปรวมกับเรือ ล.๑๒๘ ในขณะที่เรือ ล.๑๒๓ แล่นมาถึงบริเวณท้ายดอนน้อยนั้นเอง ปรากฏว่าทหารลาวได้ระดมยิงมายังเรือ อย่างหนักหน่วงและรุนแรง เรือ ล.๑๒๓ ถูกยิงหลายแห่ง และพันจ่าตรี ปรัศม์ พงษ์สุวรรณ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ถือท้ายเรือถูกยิงตรงแสกหน้าเสียชีวิตทันที เมื่อเรือขาดผู้ถือท้ายเรือ ทำให้ เรือ ล.๑๒๓ พุ่งเกยตื้นบริเวณปลายแหลมตอนโค้งของดอนน้อย ขณะที่เรือเกยตื้นอยู่นั้น ทหารซึ่งอยู่บนฝั่งและเรือรบลาว จำนวน ๓ ลำ ได้ระดมยิงมายังเรือ ล.๑๒๓ อย่างหนาแน่น กระสุนปืนถูก จ่าเอก บัญญัติ มารกุล ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต่อมาสถานีเรืออำเภอศรีเชียงใหม่ ได้สั่งให้เรือ ล.๑๒๕ มาทำการช่วยเหลืออีกลำหนึ่ง เรือ ล.๑๒๓ แม้จะเกยตื้นก็ยังทำการยิงโต้ตอบตลอดเวลาจนกระสุนปืนหมดและยังไม่สามารถนำเรือออกจากการเกยตื้นได้ ผู้ควบคุมเรือจึงสั่ง
สละเรือ ทหารประจำเรือหนีรอดออกมาได้ แต่ยังติดอยู่บนเกาะดอนแตง ไม่สามารถเคลื่อนที่ออกมาได้ เพราะถูกทหารลาวระดมยิงอย่างหนักอยู่ตลอดเวลา รายงานให้สถานเรืออำเภอศรีเชียใหม่ทราบ และได้นำเรือหลีกเลี่ยงการปะทะแต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เรือ ล.๑๒๓ จึงได้ทำการยิงโต้ตอบเพื่อป้องกันตนเอง ต่อมา สถานีเรืออำเภอศรีเชียงใหม่ ได้ส่งเรือ ล.๑๒๘ มาช่วยเหลือ ผู้ควบคุมเรือ ล.๑๒๓ จึงให้เรือ ล.๑๒๓ แล่นไปรวมกับเรือ ล.๑๒๘ ในขณะที่เรือ ล.๑๒๓ แล่นมาถึงบริเวณท้ายดอนน้อยนั้นเอง ปรากฏว่าทหารลาวได้ระดมยิงมายังเรืออย่างหนักหน่วงและรุนแรง เรือ ล.๑๒๓ ถูกยิงหลายแห่ง และพันจ่าตรี ปรัศม์ พงษ์สุวรรณ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ถือท้ายเรือถูกยิงตรง แสกหน้าเสียชีวิตทันที เมื่อเรือขาดผู้ถือท้ายเรือ ทำให้ เรือ ล.๑๒๓ พุ่งเกยตื้นบริเวณปลายแหลมตอนโค้งของดอนน้อย ขณะที่เรือเกยตื้นอยู่นั้น ทหารซึ่งอยู่บนฝั่งและเรือรบลาว จำนวน ๓ ลำ ได้ระดมยิงมายังเรือ ล.๑๒๓ อย่างหนาแน่น กระสุนปืนถูก จ่าเอก บัญญัติ มารกุล ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต่อมาสถานีเรืออำเภอ ศรีเชียงใหม่ ได้สั่งให้เรือ ล.๑๒๕ มาทำการช่วยเหลืออีกลำหนึ่ง เรือ ล.๑๒๓ แม้จะเกยตื้นก็ยังทำการยิงโต้ตอบตลอดเวลาจนกระสุนปืนหมดและยังไม่สามารถนำเรือออกจากการเกยตื้นได้ ผู้ควบคุมเรือจึงสั่ง สละเรือ ทหารประจำเรือหนีรอดออกมาได้ แต่ยังติดอยู่บนเกาะดอนแตง ไม่สามารถเคลื่อนที่ออกมาได้ เพราะถูกทหารลาวระดมยิงอย่างหนักอยู่ตลอดเวลา

      ขณะที่เรือหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงกำลังต่อสู้กับกำลังฝ่ายลาวอยู่นั้น หน่วยนาวิกโยธินที่ประจำอยู่กับหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง เขตหนองคาย ได้รับคำสั่งให้จัดกำลัง ๑ หมู่ปืนเล็กเพิ่มเติมกำลัง ไปช่วยเหลือพลประจำเรือ ล.๑๒๓ ที่ยังติดอยู่บนเกาะดอนแตงโดยด่วน เรือโท จำลอง ธรรมสุวรรณ ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองร้อยนาวิกโยธิน หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าส่วนแยก ของหน่วยนาวิกโยธิน ประจำอยู่กับหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง เขตหนองคาย ได้รับหน้าที่เป็นผู้บังคับชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน นำกำลังไปช่วยเหลือพลประจำเรือ ล.๑๒๓ ชุดปฏิบัติการนาวิกโยธินได้คืบคลาน ขึ้นไปบนหาดดอนน้อย(หาดดอนน้อยเป็นหาดอยู่บนเกาะดอนแตง และอยู่ทางฝั่งไทย) ซึ่งปราศจากที่กำบัง และภูมิประเทศยังเกื้อกูลต่อการตรวจการณ์และการระดมยิงจากกำลังฝ่ายลาวเป็นอย่างยิ่ง ชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน ได้คืบคลานเข้าหาเรือ ล.๑๒๓ ซึ่งอยู่ห่างจากไทยประมาณ ๘๐๐ เมตร ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากต้องเคลื่อนที่ภายใต้การระดมยิงจากฝ่ายลาวอย่างหนาแน่น ด้วยอาวุธหนักและอาวุธเบา แต่กำลังของชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน ก็สามารถเคลื่อนที่เข้าไปถึงเรือ ล.๑๒๓ ได้สำเร็จ และทำการช่วยเหลือพลประจำเรือพร้อมผู้บาดเจ็บ หลบหนีการยิงของฝ่ายลาวกลับมายังฝั่งไทยโดยปลอดภัย เมื่อเวลา ๑๖๔๕ ในการปฏิบัติการครั้งนี้ต้องใช้เวลาถึง ๔ ชั่วโมง และไม่สามารถนำศพผู้เสียชีวิตกลับมาได้

      ในตอนเช้าของวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘(เวลาประมาณ ๐๗๓๐) เรือโท จำลอง ธรรมสุวรรณ ได้นำชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน คืบคลานเข้าหาเรือ ล.๑๒๓ นั้น ฝ่ายลาวมิได้ทำการยิงแต่อย่างใด แต่เมื่อเคลื่อนที่ใกล้เรือ ล.๑๒๓ ฝ่ายลาวจึงได้ระดมยิงชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธินอย่างหนาแน่นและรุนแรงจากหลาย ๆ จุดบนฝั่ง ปรากฏว่า จ่าเอก พงษ์ศักดิ์ เกษไชย ผู้บังคับหมู่นาวิกโยธิน ในชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน ถูกกระสุนปืนอาร์ก้าที่ลำคอทะลุบริเวณใต้คาง บาดเจ็บสาหัส เรือโท จำลอง ธรรมสุวรรณ จึงจำเป็นต้องถอนกำลังชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธินกลับชั่วคราว เพื่อนำผู้บาดเจ็บเข้ารับการรักษาพยาบาล และในคืนวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ นั้นเอง ชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน ของหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอีกชุดหนึ่ง เข้าปฏิบัติการบนหาดดอนน้อยอีกครั้งหนึ่งเพื่อนำศพ พันจ่าตรี ปรัศม์ พงษ์สุวรรณ กลับมายังฝั่งไทยให้จงได้ การเคลื่อนที่เข้าหาเรือ ล.๑๒๓ เป็นไปด้วยความยกลำบาก และเพื่อมิให้ทหารลาวได้รู้ถึง การปฏิบัตินี้จึงต้องใช้วิธีคืบคลาน เพื่อมิให้เกิดเสียงและอาศัยความมืดเข้าหาที่หมายที่อยู่ห่างเพียง ๓๐๐ เมตรเท่านั้น แต่ต้องใช้เวลาเคลื่อนที่ถึง ๔ ชั่วโมง เหตุที่จำเป็นต้องเคลื่อนที่ไปอย่างช้าเช่นนี้ ก็เนื่องจากบนเกาะดอนแตงนั้น ไม่มีต้นไม้ยืนต้นเลยแม้แต่ต้นเดียว มีแต่ต้นแขมขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ เท่านั้น แต่ชุดปฏิบัติพิเศษทั้งสองชุด ก็สามารถเคลื่อนที่เข้าไปถึง เรือ ล.๑๒๓ และนำศพ พันจ่าตรี ปรัศม์ พงษ์สุวรรณ ออกจากเรือได้สำเร็จ และนำศพกลับมาขึ้นฝั่งไทยได้ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ เวลา ๐๒๑๕ และในตอนเช้าได้ดำเนินการนำศพไปให้แพทย์ชันสูตรออกใบมรณะบัตรที่ อำเภอท่าบ่อ และนำศพไปไว้ที่วัดท่ามะเฟือง เมื่อเวลา ๑๒๔๕ ของวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๘

       วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ เวลา ๐๙๐๐ ชุดปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน ภายใต้การนำของ เรือโท จำลอง ธรรมสุวรรณ ได้ปฏิบัติการบนหาดดอนน้อยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการคุ้มกันหน่วยซ่อมเรือ ล.๑๒๓ และได้เข้าช่วยเหลือ หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง ในการนำเรือ ล.๑๒๓ ออกจากการเกยตื้นได้สำเร็จ ในเวลา ๐๕๔๕ และนำเรือกลับไปจอดที่บ้านท่ามะเฟืองได้โดยปลอดภัย เวลาประมาณ ๐๘๐๐

       การปฏิบัติการอันกล้าหาญเสี่ยงอันตรายและเสียสละอย่างสูงของชุดปฏิบัติพิเศษนาวิกโยธิน ที่ได้เข้าปฏิบัติการบนหาดดอนน้อย นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงแก่ผู้ปฏิบัติ และเป็นเกียรติอย่างสูงแด่ของกองทัพเรือ และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินอีกด้วย