สงครามมหาเอเชียบูรพา
 

      สงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นสงครามผนวกเข้ากับมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือจะเรียกว่าหางสงครามก็ได้ และเป็นสงครามที่ญี่ปุ่นก่อขึ้นโดยเฉพาะเพื่อให้สมตามที่ตนได้สัญญาไว้กับเยอรมัน และอิตาลี ซึ่งเราเรียกกันว่า ฝ่ายอักษะ

      มีสิ่งที่น่ากล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับรัสเซีย ไม่เป็นแต่ส่งทหารไปประจันหน้า ในประเทศแมนจูเรียเท่านั้น นักปราชญ์ท่านกล่าวว่าการที่ญี่ปุ่นไม่บุกรัสเซียนี่เอง ทำให้เยอรมันแพ้รัสเซียเร็วเข้าเพราะถ้า ญี่ปุ่นบุกรัสเซีย รัสเซียก็ต้องถอนทหารทางยุโรปมายันทางเอเชียบ้างแน่นอน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้เข้าตีจริง ๆ เหตุผันแปรของ สงครามก็อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเหตุการณ์รอบๆ จะเห็นว่าญี่ปุ่นหมดทหารที่จะบุกรัสเซีย เพราะต้อง ใช้กำลังทหารไปด้านอื่นหมด

      ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๙ มาแล้วที่จีนกับญี่ปุ่นเกิดรบกัน แต่เป็นการรบที่ไม่ได้ประกาศสงคราม ครั้นถึงปลาย พ.ศ.๒๔๘๔ จีนได้ถอยร่นไปตั้งเมืองจุงกิงเป็นเมืองหลวง อเมริกา อังกฤษ ไม่อยากเห็นญี่ปุ่นแผ่อำนาจมากเกินไป จึงแอบขายอาวุธ ยุทธภัณฑ์ให้แก่จีนได้ขนอาวุธเหล่านี้ทางถนนสายพม่า-จุงกิง(เรียกภายหลังว่าถนนสติลเวลล์)และทางรถไฟสายฮานอย-ยูนาน

      ญี่ปุ่นได้คัดค้านการกระทำของอเมริกา อังกฤษ อย่างแข็งขัน และพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในตังเกี๋ย เพื่อตัดการลำเลียงของจีน โดยทำสัญญากับรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสขอเข้าคุมการคมนาคมทางด้านนี้

      อเมริกา อังกฤษ จีน ฮอลแลนด์ ( A. B. C. D .) ต่างได้คัดค้านการกระทำของญี่ปุ่น เพราะรู้ท่าทีอยู่แล้วว่าญี่ปุ่นพยายามจะรวมเอาเอเชีย ทั้งหมดไว้ใต้อำนาจ ทั้งนี้ เพราะฝ่ายอักษะในยุโรปได้ยึดพื้นที่ไว้ได้เป็นอันมาก ดูประการหนึ่งว่าสงครามจะยุติลงโดยฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายชนะ

ประเทศไทยเห็นว่าถึงอย่างไรก็หลีกสงครามไม่ไหว รัฐบาลจึงขอร้องไปทางอังกฤษให้ช่วยเหลือ แต่อังกฤษก็ตอบว่าตัวของตนเองก็แย่ ขอให้ไทยช่วยตัวเอง ไปพลางก่อนก็แล้วกัน

      วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้ง จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด

      วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ผู้บัญชาการทหารเรือได้วางระเบียบการจัดกำลังและการบังคับบัญชากองทัพเรือในเวลาสงคราม คือ

       ๑.แม่ทัพเรือขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับยุทธการ

       ๒.ผู้บัญชาการทหารเรือคงปกครองบังคับบัญชาหน่วยแต่เฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับเทคนิคหรืองานฝ่ายปกครอง ตามปกติผู้บัญชาการทหารเรือ และแม่ทัพเรือไม่ขึ้นแก่กัน แต่จะได้ดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการดำเนินการสงคราม ความจริงนั้นแม่ทัพเรือก็คือ พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน และผู้บัญชาการทหารเรือก็คือ พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน (แต่มักนิยมให้พลเรือตรีเจริญราชนาวา เซ็นนามแทนผู้บัญชาการทหารเรือ)

       ๓. สถานีทหารเรือกรุงเทพฯ ขยายเป็นหน่วยใหญ่ ขยายเป็นหน่วยใหญ่ มีกำลังรบที่ประจำอยู่ในเขตทหารเรือกรุงเทพฯ หน่วยที่ขึ้นในสังกัด คือ

           ๑) กองเรือที่ ๔

           ๒) ป้อมพระจุลจอมเกล้า และป้อมผีเสื้อสมุทร

           ๓) กองต่อสู้อากาศยาน

          ๔) กองสำรองเรือรบ

          ๕) สถานีทหารเรือกรุงเทพ (เดิม)

          ๖) โรงเรียนนายเรือ

          ๗) กองสัญญาณทหารเรือ

      ๔. สถานีทหารเรือสัตหีบ มีหน่วยในสังกัด คือ

          ๑) สถานีทหารเรือสัตหีบ (เดิม)

          ๒) กองสำรองนาวิกโยธิน

          ๓) กองต่อสู้อากาศยาน

          ๔) คลังพัสดุ

         ๕) คลังสรรพาวุธ

      ๕. กองเรือรบ จัดแบ่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่ประกอบด้วยเรือประจำการ ให้ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของทัพเรือ (คือกองเรือที่ ๑ ที่ ๒ และ ที่๓) กำลังอีกส่วนหนึ่ง (คือกองเรือที่ ๔) ซึ่งประกอบด้วยเรือประจำการบางลำ, เรือสำรองและเรือปลด ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของสถานีทหารเรือกรุงเทพฯ

      ๖. กำลังส่วนใหญ่ของทัพเรือ คือ

         ๑) กองเรือที่ ๑ มีเรือปืน, เรือสลุป

         ๒) กองเรือที่ ๒ มีเรือตอร์ปิโด, เรือดำน้ำ

         ๓) กองเรือที่ ๓ มีเรือทุ่นระเบิด, เรือตอร์ปิโดเล็ก, เรือยามฝั่ง, เรือลำเลียง

         ๔) กองบินทะเล

         ๕) กองพลนาวิกโยธิน

 
การปฏิบัติ
 

      เนื่องจากสถานการณ์ในภาคเอเชียอยู่ในลักษณะคับขัน รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประสงค์จะดำรงตัวเป็นกลางจนถึงที่สุด อาจมีประเทศล่วงละเมิดอธิปไตยของประเทศ โดยรุกรานด้วยการยกพลขึ้นบก ณ บริเวณปากน้ำประแสหรือบ้านเพ หรือปากน้ำท่าประดู่ เพื่อประสงค์ป้องกันการยกพลขึ้นบกที่บริเวณปากน้ำประแสหรือบ้านเพจึงได้ออกคำสั่งยุทธการที่ ๑ ในการป้องกันรักษาฝั่งในยามฉุกเฉิน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๔ ได้จัดกำลังไปปฏิบัติการดังนี้

      กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ จัดกำลัง ร้อย ๕ ร้อย ๖ และร้อย ๘ (๑ หมวดกับ) บก.พัน.ตามอัตรา กับให้กองพันนาวิกโยธินที่ ๒ จัดกำลัง ร้อย ๔ รวมกันเป็น ๑ กองพัน ไปดำเนินการและ บก.นย.จัดหน่วยลาดตระเวนประกอบด้วยพลขี่ม้า ๔ พลขับขี่จักรยานยนต์ ๖ ม้าขี่ ๔ สมทบไปในหน่วยนั้น ฝ่ายพลาธิการจัดหน่วยสัมภาระตามอัตราสำหรับ ๑ กองพัน

      ร.อ.สุ่น มาศยากุล เป็น ผบ.พัน.ไปดำเนินการตามโอวาทท้ายคำสั่ง ให้เริ่มออกเดินทางโดยขบวนเดินเท้าจากสัตหีบ ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔

       กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ จัดกำลัง ร้อย ๑ กองพันนาวิกโยธินที่ ๒ จัดกำลังร้อย ๘ (๑ หมวด) สมทบไปดำเนินการ ฝ่ายพลาธิการ นย.จัดหมู่สัมภาระ ๑ หมู่

      น.ต.เย็น รื่นวงสา เป็น ผบ.หน่วย ดำเนินการตามโอวาทให้เริ่มออกเดินทางโดยขบวนเดินเท้า ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔

      วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้ตกลงใจยอมอนุญาตให้กำลังทหารญี่ปุ่นผ่านและพักอาศัย ในประเทศไทยได้จึงได้จัดกำลังปฏิบัติการเป็นกองรักษาการณ์บริเวณบางสะเหร่และแสมสารตามคำสั่งทัพเรือ นย.จึงได้ให้ กองพันนาวิกโยธินที่ ๒ จัดกำลัง ร้อย ๖ ไปดำเนินการรักษาการณ์ที่บริเวณแสมสาร่ และให้กองพันนาวอกโยธินที่ ๑ จัดกำลัง ร้อย ๒ ไปดำเนินการรักษาการณ์ที่บริเวณบางสะเหร่ กับกองร้อยปืนใหญ่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ ๑/๒ บก.นย.จัดหน่วยลาดตระเวนประกอบด้วย กองร้อยลาดตระเวน จักรยาน ๑ พลขี่ม้า ๒ ม้าขี่ ๓ สมทบร่วมไปกับกองร้อย การเลี้ยงดูให้ พลาธิการจัดอาหารและข้าวส่ง ณ ที่ตั้งกองร้อยทหารราบและปืนใหญ่ ให้ ผบ.ร้อย ๒ และ ผบ.ร้อย ๖ ดำเนินการตามโอวาท และให้เริ่มออกเดินทางโดยขบวน ยานยนต์จากสัตหีบในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔

      วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ประเทศไทยได้ร่วมสัญญาการทหารกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำการรุกรานและป้องกัน กำลังทางบก ทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้ทำการสู้รบกับอังกฤษอยู่ทางบริเวณแหลมมลายูและทางทิศตะวันตกของประเทศไทย นย.ได้จัดกำลัง ร้อย ๑ กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ ไปดำเนินการรักษาการณ์ชายฝั่งทะเล กับช่องทางเกวียนวัดหนองตับเต่า โดยปฏิบัติการร่วมกับ ร้อย ๒ กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ ทั้งนี้เพื่อป้องกันรักษาฝั่งและจารกรรมในยามฉุกเฉิน ให้เริ่มออก เดินทางจากสัตหีบ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เวลา ๐๖๐๐

      วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ปรากฏว่ามีเครื่องบินข้าศึกมาทำการระเบิดจุดสำคัญทางการประเทศไทย เมื่อปฏิบัติการเตรียมการต่อสู้เครื่องบิน นย.จึงได้จัดร้อยปืนกลหนักพิเศษของกองพลนาวิกโยธิน ไปดำเนินการเตรียมการ ต่อสู้เครื่องบิน เพื่อคุ้มครองที่ตั้งหน่วยทหาร ณ บริเวณที่กำหนดตามแผน และหน่วยต่าง ๆ ของ นย.ได้จัดกำลังเตรียม ปฏิบัติ การระวังภัย และต่อสู้อันจะพึงอุบัติขึ้นต่อการกระทำของพลทหารร่มอากาศเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔

      วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ เพื่อให้หน่วยรักษาการณ์ตามชายฝั่งทะเลและช่องทางตามที่กล่าวมาแล้วได้มีโอกาสพักผ่อน นย.จึงได้จัดกำลังไปทำการสับเปลี่ยนดังนี้

           กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ ร้อย ๓ ไปทำการสับเปลี่ยนรักษาการณ์กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ ร้อย ๓ ไปทำการสับเปลี่ยนรักษาการ กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ ร้อย ๒ ตำบลบางสะเหร่

           กองพันนาวิกโยธินที่ ๒ ร้อย ๗ ไปทำการสับเปลี่ยนรักษาการณ์กองพันนาวิกโยธินที่ ๒ ร้อย ๖ ตำบลวัดหนองตับเต่า ให้เริ่มออกเดินทางโดยขบวนเดินเท้าเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ เวลา ๐๔๐๐

       วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ เวลา ๑๒๐๐ ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้ศัตร ูลอบเข้ามาโจมตีฝ่ายเรา ณ บริเวณสัตหีบ นย.จึงได้จัดการรักษาการณ์ เขตภายนอกและเขตภายในบริเวณชายฝั่งชายทะเล และช่องทางถนน กับป้องกันจารกรรมในบริเวณสถานีทหารเรือสัตหีบอย่างกวดขัน

      วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๕ และเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๕ เวลา ๒๒๐๐ ตามประมวลข่าวทัพเรือแจ้งออสเตรเลีย อยู่ในสภาพสงครามกับประเทศไทย ตาม รายงานวิทยุโทรศัพท์จากแม่สอดถึงกรุงเทพฯ แจ้งว่าข้าศึกได้ยกพลขึ้นบก ที่แม่สอด นย.จึงได้จัดกำลังเพิ่มเติมในการรักษาการณ์ตามที่กล่าวมาแล้วอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น

       วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๕ เพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามคำสั่งยุทธการตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ ของทัพเรือ นย. ได้จัดกำลังเป็น กองพลนาวิกโยธิน ยาตรากำลังจาก สัตหีบไปเข้าที่ชุมพลเริ่มต้น จว.สมุทรปราการในฐานะเป็นกองหนุนร่วมกับ ทบ.

       วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๕ กองพลนาวิกโยธินได้รับแผนการร่วมกับ ทบ.จัดกำลังพลอิสานโดย พ.อ.หลวงไกร เป็น ผบ.พลอิสาน น.อ.ทหาร ขำหิรัญ เป็น รอง ผบ.พลอิสาน พ.ท. อนุ เป็น เสธ.พลอิสาน เพื่อให้สะดวกในการยาตรากำลัง ซึ่งจะไปปฏิบัติการในหน้าที่ซึ่งได้รับมอบ นย.จึงได้จัดให้น.ต.วิเชียร ชุ่มวิจิตร เป็นเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าไปตรวจสถานการณ์และ สำรวจเส้นทางตั้งแต่หนองคาย - จำปาศักดิ์ ตามลำน้ำโขงตลอดทุกจังหวัดภาคอิสาน โดยร่วมไปกับเจ้าหน้าที่ บก.พลอิสาน
เพื่อความมุ่งหมายต้องการทราบการคมนาคมและเส้นทางเพื่อ

       ก. ประโยชน์ในการลำเลียงทหาร

       ข. การเคลื่อนย้ายหน่วยทหารบนเส้นทาง

       ค. ที่พักทหาร

       ง. การเลี้ยงดูในเรื่องเสบียงอาหารและน้ำ

       ให้เริ่มออกเดินทางจากสัตหีบเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๕ ดังปรากฏตามรายงานสำรวจเส้นทางของจังหวัดภาคอิสานอยู่แล้ว

       วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ตามคำสั่งของกองทัพเรือให้ นย.ช่วยจัดกำลังไปประจำที่รัฐกลันตัน โดยจัดกำลังกองพันนาวิกโยธินที่ ๒ ซึ่งประกอบไปด้วยกำลัง ร้อย ๕ – ๖ – ๗ – ๘ พร้อมด้วยหมวดปืนใหญ่ทหารราบ หมวดสัมภาระ และหมวดแพทย์ไปดำเนินการ

       ร.อ.กวี ห้าวเจริญ เป็น ผบ.พัน.ไปดำเนินการตามคำสั่งทัพเรือเรื่มปฏิบัติการออกจากสัตหีบ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๖ โดยขบวนเรือลำเลียงเรือรบหลวง

       วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ปรากฏการณ์เป็นที่น่าสงสัยว่าข้าศึกเล็ดลอดเข้ามาทำการลาดตระเวนในเขตพื้นที ่มณฑลทหารเรือที่ ๒ บางคราวอาจจะทิ้งทุ่นระเบิดไว้ในบริเวนเส้นทางเดินเรือด้วยการกระทำ เช่นนี้นับว่ามีบ่อยครั้งและถี่ขึ้นเรื่อย ด้วยความประสงค์ที่จะจัดการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความปลอดภัยอย่างมากที่สุด นย.จึงได้จัดกำลังให้กองพันนาวิกยินที่ ๑ จัดยามประจำที่ยอดเขา ด้านทิศเหนืออ่าวทุ่งไก่เตี้ย ขึ้น ๑ แห่ง มีจำนวนทหารยาม ๔ ผลัด ๆ ละ ๒ คน เปลี่ยนกันทุก ๒ ชั่วโมง ยามชุดหนึ่งประจำ ๑ สัปดาห์ กับให้กองผสมที่ ๑ กองพลนาวิกโยธิน จัดยามต่อประจำที่บนยอดเขาที่ เกาะลอย ตำบลศรีราชา ๑ แห่ง ทหารยามจัดจากหน่วย ที่เดินทางไปพักที่ศรีราชา มีจำนวนทหารยาม ๔ ผลัด ๆ ละ ๒ คนเปลี่ยนกันทุก ๒ ชั่วโมง ยามชุดหนึ่งอยู่ประจำ ๑ วัน ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เพื่อให้การตรวจการณ์บริเวณเกาะสีชังกับชายฝั่งทะเล ณ ตำบลศรีราชาและบางพระได้เป็นไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ กองผสมที่ ๑ กองพลนาวิกโยธิน จึงได้ย้ายที่ตั้งยามประจำที่ บนยอดเขาเกาะลอยศรีราชาไปตั้งประจำบนยอดเขาพระพุทธบาทตำบลบางพระ

       วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๗ นย.ได้ปฏิบัติการณ์ประลองยุทธในลักษณะการยุทธด้วยวิธีรุกและวิธีรับตามแผนการรบ เป็นคำสมมุติเพื่อการฝึกซ้อมทหารในกองพลนาวิกโยธิน โดยสมมุติเหตุการณ์ดังนี้

       เหตุการณ์ทั่วไป ฝ่ายแดงส่งกำลังเคลื่อนมาตามเส้นทางสมุทรปราการ – บางปะกง และตามทางรถไฟสายตะวันออก ด้วยประสงค์ที่จะเข้ายึดเมืองชลบุรี

       ฝ่ายขาวจัดกำลังส่วนหนึ่งรักษาท่าข้ามที่ตำบลบางปะกง ฝั่งซ้ายลำน้ำบางปะกงและตำบลท่าถนนตก (ฝั่งซ้ายลำน้ำบางปะกง) กำลังส่วนใหญ่ตั้งที่บริเวณศรีราชาด้วยความประสงค์จะต่อตีข้าศึกมิให้ทำการเป็นผลสำเร็จ

       เหตุการณ์เฉพาะ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๗ ตั้งแต่เวลา ๐๕๓๐ ส่วนหน้าของฝ่ายแดงได้ทำการต่อสู้ เพื่อหักแนวป้องกันของฝ่ายขาวซึ่งทำการรักษาลำน้ำบางปะกงอยู่ทั้ง ๒ แห่ง กำลังส่วนใหญ่กำลังเคลื่อนที่ติดตามมา

      กำลังส่วนที่รักษาลำน้ำบางปะกงทั้ง ๒ แห่ง ของฝ่ายขาวทำการต่อสู้อย่างเหนียวแน่น จนสามารถยับยั้งมิให้ ฝ่ายแดงทำการเข้าแย่งยึดพื้นที่ในเขตระวังรักษา เพื่อทำหัวสะพานในการข้ามลำน้ำทั้ง ๒ แห่งได้ ก่อนวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เวลา ๐๖๐๐ โดยที่ฝ่ายขาวค่อนข้างเสียเปรียบในการที่มีกำลังด้อยกว่า และมีความประสงค์จะสร้างแนวยับยั้งในขั้นต่อไปจึงจัดให้ กำลังส่วนใหญ่ขึ้นมาสร้างแนวต้านทานที่ตำบลทิศใต้บ้านท้ายดอน

 
ความมุ่งหมาย
 

      ๑. ดูการปฏิบัติในการจัดสร้างที่มั่นรักษาด่านกับ การต่อสู้ในที่มั่นของกำลังส่วนที่ทำการตั้งรับ(ใช้กำลังในกองผสมที่ ๑ กองพลนาวิกโยธิน)

      ๒. ดูการปฏิบัติของกองระวังหน้าในหน้า ในการลาดตะเวนและการปะทะกับที่มั่นรักษาด่าน (ใช้กำลังกอง รร.นย.กับกำลังเพิ่มเติมจากกองผสมที่ ๑ กองพลนาวิกโยธิน)

      ในการปฏิบัติการประลองยุทธนี้ นย.ได้จัดให้ น.ท.วิเชียร ชุ่มวิจิตร์ ผู้อำนวยการฝึก กอง รร.นย.ทำหน้าที่เป็น ผบ.กองระวังหน้า (ฝ่ายแดง) น.ต.ประดิษฐ์ พูลเกษ ผบ.กองผสมที่ ๑ กองพลนาวิกโยธิน ทำหน้าที่ ผบ.กอง ผสมที่ ๑ (ฝ่ายขาว)

      วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๗ กองพลนาวิกโยธิน ได้จัดกำลังเพิ่มเติมในกองผสมที่ ๑ ทั้งนี้เพื่อให้มีความสามารถในการใช้อาวุธประกอบกับภูมิประเทศ ได้รวดเร็ว จึงให้จัดแบ่งทหารใหม่จากกองอำนวยการฝึกทหารใหม่ในสังกัด นย.ไปเป็นหน่วยสมทบขึ้นสังกัดกองผสมที่ ๑ คือ

           - กองที่ ๕ (หน่วยฝึกที่ ๒) ไปสมทบกองที่ ๓ กองผสมที่ ๑

           - กองที่ ๗ (หน่วยฝึกที่ ๒) ไปสมทบกองที่ ๒ กองผสมที่ ๑

           - กองที่ ๘ (หน่วยฝึกที่ ๒) ไปสมทบกองที่ ๑ กองผสมที่ ๑

       วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เนื่องจากกองพันนาวิกโยธินที่ ๒ ได้ไปปฏิบัติการร่วมกับ ทบ.ที่รัฐกลันตันเป็นระยะเวลานาน กองพลนาวิกโยธินจึงได้ดำเนินการ สับเปลี่ยนหน่วยทหารที่รัฐกลันตันเป็นไปตามคำสั่งทัพเรือ จึงจัดกำลังในกองพันนาวิกโยธินที่ ๓ ร้อย ๑๐ เป็นหน่วยไปสับเปลี่ยน เมื่อไปรัฐกลันตันแล้วให้เป็นหน่วยร้อย ๖ ในสังกัดกองพันนาวิกโยธินที่ ๒

       กองพันนาวิกโยธินที่ ๒ จัด ร้อย ๖ ร้อย ๗ หมวดปืนใหญ่ทหารราบขนาด ๓๗ มม.ยิงรถถังและหมวดปืนกลหนักในหน่วยป้องกัน บก.เป็นหน่วยที่จะถอนกลับเมื่อถึง ที่ตั้งปกติแล้วให้ขึ้นในสังกัดกองพันนาวิกโยธินที่ ๑ เว้นแต่ หมวดปืนใหญ่ทหารราบขนาด ๓๗ มม. ให้ไปขึ้นในสังกัดกองปืนใหญ่ทหารราบ

       ร.อ.กวี ห้าวเจริญ ผบ.กองพันนาวิกโยธินที่ ๒ ไปประจำ บก.กองพลนาวิกโยธิน

       ร.อ.ผ่อน พร้อมประพันธ์ ผบ.ร้อย ๑๐ กองพันนาวิกโยธินที่ ๓ ไปรักษาราชการ ผบ.กองพันนาวิกโยธินที่ ๒

       วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ เนื่องจากหน่วยทหาร ม.พัน.๔ ทบ.ได้เคลื่อนย้ายไปจากจังหวัดจันทบุรี ทางการ ทบ. ได้จัดโอนที่ตั้งหน่วยทหารม้านี้ (ด้วย ม.พัน.๔ จังหวัดจันทบุรีทหารบก) ให้กับกองทัพเรือ ทางทัพเรือจึงได้สั่งให้กองพลนาวิกโยธิน ไปทำการรับมอบและเริ่มปฏิบัติการเป็นหน่วยรักษาการณ์ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย กองพลนาวิกโยธิน จึงได้จัดให้กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ จัดกำลัง ๑ กองร้อยไปประจำที่จังหวัดจันทบุรี โดยให้ ร.ท.จ้อย มณีรัตน์ ผบ.กอง รร.พรรคนาวิกโยธินไปเป็น ผบ.กองรักษาการณ์ หน่วยทหารจังหวัดจันทบุรี

       วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามคำสั่งทัพเรือให้กองพลนาวิกโยธินทำการสับเปลี่ยนหน่วยรักษาการณ์ ที่จังหวัดภูเก็ตจึงให้กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ จัดทหารร้อย ๑ ไปเป็นกองพันรักษาการณ์สับเปลี่ยนในบังคับบัญชา ร.อ.หยด สุทธสง่า ผบ.ร้อย ๑ กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ ไปเป็น ผบ.กองรักษาการณ์จังหวัดภูเก็ต

     วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เนื่องด้วยสถานีวิทยุของกองสัญญาณทหารเรือที่จังหวัดสงขลาอยู่ในลักษณะมีกำลังการรักษาการณ์ ไม่เพียงพอ ทาง ทร.จึงได้มีคำสั่งลับทหารเรือ ๕๗๐/๘๗ ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๗ ให้ นย.จัดทหารมีกำลัง ๑ หมวดไปปฏิบัติรักษาการณ์ ที่สถานีวิทยุของกองสัญญาณทหารเรือจังหวัดสงขลาจึงได้จัดให้กองพันนาวิกโยธินที่ ๑ จัดทหารมีกำลัง ๑ หมวดโดยจัดจากกองพันนาวิกโยธินที่ ๑ ร้อย ๒ ไปปฏิบัติการในความบังคับบัญชาของ พ.จ.อ.อุ่น บุญญา เป็น ผบ.หมวดรักษาการณ์ที่จังหวัดสงขลา

      วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๘ สถานการณ์ปัจจุบันแสดงท่าทีว่าฝ่ายข้าศึกจะทำการยกพลขึ้นบกที่บริเวณอ่าวบางแสน จังหวัดชลบุรี ได้ในระหว่างเดือนกรกฏาคม หรือ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ทัพเรือจึงได้มีคำสั่งให้กองพลนาวิกโยธิน ทำการป้องกันการยกพลขึ้นบกของข้าศึก ด้วยวิธีการต่อสู้ กองพลนาวิกโยธินจึงได้ใช้กำลังในกองผสมที่ ๑ จัดวางแนวป้องกันและต่อสู้ที่บริเวณบางแสนตามแผนการปฎิบัติโดยให้ปืนใหญ่ยิงได้ตั้งแต่ ขบวนขึ้นบกของข้าศึกเริ่มเข้ามาในเขตรัศมี ๑๐ กม.ตามที่หมายสำคัญตามลำดับให้ทำการต่อสู้ข้าศึกอยู่จนกว่าจะได้รับคำสั่งให้ถอนตัวกลับ ให้ปืนใหญ่ทหารราบ ขนาด ๒๐ มม. และปืนใหญ่ทหารราบขนาด ๓๗ มม. ยิงรถถังและเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๙๐ มม. ให้ใช้เสริมกำลังยิงของกองพันทหารราบจัดแบ่งจำนวน ให้ตามความสำคัญและความมุ่งหมาย และให้สามารถเคลื่อนย้ายช่วยเหลือกันได้ระหว่างหน่วยข้างเคียง กับให้ปืนใหญ่ ๗๕/๘๐ เป็นปืนใหญ่ช่วยส่วนรวม เมื่อได้รับคำสั่งให้ถอนตัวให้รวมกำลังทำการป้องกันตัวเอง ถ้าข้าศึกไล่ติดตามด้วยวิธีสู้พลางถอยพลางแล้วรีบไปยึดที่มั่น

      วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์แสดงว่าเป็นการสมควรที่จะจัดให้มีกำลังทหารประจำอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีพอควรแก่การดำเนินงาน กองพลนาวิกโยธินจึงได้เปลี่ยนสภาพหน่วยทหารกองรักษาการณ์จันทบุรีเป็นกองผสมที่ ๔ กองพลนาวิกโยธินกำลังประกอบด้วย คือ

      - ร.พัน ๒ (กองพันนาวิกโยธินที่ ๒)

      - กอง ป.๔๗ (น่าจะเป็นหมวดปืนใหญ่ทหารราบขนาด ๓๗ มม.)

      - หมวดม้า

      น.ท.วิเชียร ชุ่มจิตร์ เสธ.พล.นย.เป็น ผบ.กองผสมที่ ๔ กองพลนาวิกโยธิน มีฐานะ ในการปกครองบังคับบัญชาเทียบชั้น ผบ.กรม

      น.ต.กวี ห้าวเจริญ รักษาราชการแทน เสธ.พล.นย.

      วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ ตามคำสั่งทัพเรือลับเฉพาะที่ ๑๑ ก/๘๘ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ ด้วยความประสงค์ที่จะจัดส่งกำลังไปประจำที่บ้านโป่ง กองพลนาวิกโยธินจึงให้กองผสมที่ ๒ แบ่งกำลังจากกองพันนาวิกโยธินที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน จัดเป็นกองพันนาวิกโยธินที่ ๕ กองพลนาวิกโยธินและเป็นกองพันนาวิกโยธินที่ ๔

 
หน่วยทหารบ้านโป่ง
 

      น.อ.หลวงอธึกโยธิน ผบ.หน่วยทหาร

      น.ต.วิรัฏฐ์ คังคะเกตุ เสนาธิการ

      น.ต.เย็น รื่นวงษา ผบ.กองพันนาวิกโยธินที่ ๔ กองพลนาวิกโยธิน

      น.ต.วิจิตร์ ชนไมตรี ผบ.กองพันนาวิกโยธินที่ ๕ กองพลนาวิกโยธิน

      วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ เมื่อสถานการณ์คืนสภาพเข้าสู่ปกติแล้ว กองพลนาวิกโยธินจึงได้สั่งกองผสมที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกองสัญญาณทหารเรือเคลื่อนย้ายกำลัง กลับเข้าที่ปกติที่ นย.แล้วให้ปรับจัดกำลังให้กองพันนาวิกโยธินที่ ๓ เข้าสังกัดกองพันนาวิกโยธินที่ ๒ ร้อย ๑ ร้อย ๒ หรือ ร้อย ๔ ตามฐานะกำลังในหมวดปืนใหญ่ทหารราบเข้าสังกัด ในหมวดปืนใหญ่ทหารราบ ร้อย ๑ ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ให้ขึ้นในสังกัดกองพันนาวิกโยธินที่ ๒ หรือกองปืนใหญ่ทหารราบประจำในหน่วยตามฐานะ เว้นแต่ผู้ที่มีคำสั่งให้ย้าย ไปประจำหน่วยอื่น เจ้าหน้าที่ประจำ บก.กองผสมที่ยังมีเหลือเข้าสมทบกับ บก.กองพันนาวิกโยธินที่ ๒

      การปฏิบัติและการดำเนินการ จัดทหารเมื่อเข้าประจำการเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ และ ๒๔๘๖ ซึ่งจะปลดเป็นกองหนุน ตามคำสั่งกองพลนาวิกโยธิน ลับที่ ๑๒/๒๔๘๘ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ของมณฑลทหารเรือที่ ๑ รวมไว้ เพื่อรวมปลดปล่อยทหารที่เข้าประจำการ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗ เตรียมการส่งเข้า ประจำหน่วยรักษาการณ์ของกองสัญญาณทหารเรือ และกองสรรพาวุธทหารเรือ ทหารส่วนนี้จัดรวมเข้าเป็นหน่วยขึ้นในบังคับบัญชา ร.ท.มนตรี ศรีสุทธนันท์ ผู้บังคับบัญชา ตำแหน่ง ผบ.หมวดและ ผบ.หมู่กองผสมที่ ๒ มีหน้าที่จัดให้มีตามสมควร